แก้ปัญหากล้ามเนื้อหนังตาอ่อนแรง ด้วยเทคนิค Open eyes โดยศัลยแพทย์ผู้ชำนาญการ

สารบัญ

  1. กล้ามเนื้อหนังตาอ่อนแรง คืออะไร? 
  2. สาเหตุที่ทำให้เกิดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

  3. ปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้เกิดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

  4. อาการของภาวะกล้ามเนื้อหนังตาอ่อนแรง

  5. ระดับความรุนแรงของภาวะกล้ามเนื้อหนังตาอ่อนแรง

  6. วิธีการรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

  7. การแก้ไขกล้ามเนื้อหนังตาอ่อนแรง คืออะไร?

  8. เทคนิคแก้ไขกล้ามเนื้อหนังตาอ่อนแรง 

  9. ขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนทำศัลยกรรมตา

  10. ขั้นตอนการรักษา

  11. การดูแลตัวเองหลังทำ

  12. วิธีเลือกคลินิกรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ควรเลือกอย่างไร?

  13. ทำไมต้องทำเลือกรักษา ที่ Luxury Clinic

  14. คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

  15. Review จากเคสจริง

กล้ามเนื้อหนังตาอ่อนแรง คืออะไร? 

ปัญหากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงนั้น เป็นภัยใกล้ตัวที่หลายคนมองข้ามหรือไม่เคยทราบ เพราะปัญหาเหล่านี้จริงๆแล้ว เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวันด้วยส่วนนึง เช่น การขยี้ตา การจ้องหน้าคอนานๆ การใช้สายตามากเกินไปจนเกิดอาการล้า ซึ่งวันนี้เราจะมาอธิบายถึงปัญหา สาเหตุเกิดจากอะไร และจะแก้ปัญหาชั้นตาอย่างไรให้ถูกวิธีก่อนเข้ารับการศัลยกรรม

โดยกล้ามเนื้อหนังตาอ่อนแรงนั้น มีอยู่ 2 ประเภท แบ่งออกเป็น 

  • ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง (Ptosis) เป็นภาวะที่ชั้นเปลือกตาหรือขอบหนังตาเกิดการหย่อนคล้อย มีลักษณะหนังตาตกลงมา ตาปรือ ซึ่งเกิดจากความล้าของกล้ามเปลือกเนื้อตาจึงทำงานได้ไม่เต็มที่ เปลือกตาจึงหย่อนลงมาปิดตาดำนั่นเอง ในบางกรณีที่เปลือกตาหย่อนลงมาปิดตาดำมากเกินไปอาจเกิดการบดบังการมองเห็นได้ คนไข้บางรายจึงเข้าใจผิดว่าเป็นภาวะค่าสายตาผิดปกติ อาการเหล่านี้สามารถเป็นได้ทั้งข้างเดียวหรือสองข้าง ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเป็นได้ทุกเพศ ทุกวัย ตั้งแต่กำเนิดจนโตเป็นผู้ใหญ่ ซึ่งคนไข้สามารถสังเกตตัวเองได้ง่ายๆ หากมีลักษณะตาตก ตาหย่อนคล้อย ตาปรือ ตาง่วง หรือรู้สึกหนักที่ปลายหางตา ภาวะนี้สามารถรักษาได้โดยการผ่าตัดกล้ามเนื้อหนังตาอ่อนแรง
  • โรคกล้ามเนื้อหนังตาอ่อนแรง (Myasthenia Gravis) หรือเรียกสั้นๆ ว่า โรค MG เกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานผิดปกติส่งผลให้รอยต่อระหว่างกล้ามเนื้อตาและระบบเส้นประสาทขัดขวางกันจึงทำให้กล้ามเนื้อตาไม่สามารถควมคุบการทำงานได้ คนไข้ที่เป็นฌรคนี้จึงมีอาการหนังตาตก ตาปรือ ลืมตาได้ลำบาก ขยับหนังตาได้น้อย หนังตาหย่อนลงมา หรือชั้นตาไม่เท่ากันในบางเวลายิ้มกว้างไม่ได้ ลิ้นอ่อนแรง รวมถึงปัญหาในการพูด หากแต่ว่าอาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นแค่เพียงชั่วคราวเท่านั้น เมื่อได้รับการพักผ่อนที่เพียงพออาการเหล่านี้ก็จะหายไป  โรคนี้จึงไม่เหมาะกับการรักษาโดยการผ่าตัด แต่ต้องได้รับการรักษาแบบทานยา ดูแลจากแพทย์วินิจฉัยและวางแผนการักษาในระยะยาว

สาเหตุที่ทำให้เกิดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

 ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเกิดจากสาเหตุหลักๆ  2 ประเภท ดังนี้

  1. ภาวะกล้ามตาอ่อนแรงตั้งแต่กำเนิด 
  • เป็นมาตั้งแต่กำเนิด เป็นภาวะที่ถูกถ่ายทอดมาจากทางพันธุกรรม เกิดจากการทำงานผิดปกติของระบบเส้นประสาท ทำให้เกิดกล้ามเนื้อตาไม่พัฒนา

ส่งผลให้สมองด้านนั้นๆ ไม่ได้รับการกระตุ้น จึงมีภาวะหนังตาตก ตาดูปรือ ลืมตาไม่ค่อยขึ้น ภาวะตาขี้เกียจและตาเอียง 

      2. ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงที่เป็นภายหลัง

  • อายุเพิ่มขึ้น  เมื่ออายุเราเพิ่มมากขึ้นชั้นเปลือกตาก็หย่อนคล้อยตามอายุ เมื่อกล้ามเนื้อตาเสียความยืดหยุ่นทำให้กล้ามเนื้อหนังตาห้อยลงมากกว่าปกติ 
  • พฤติกรรมในการใช้ชีวิต ในปัจจุบันคนสาวนใหญ่มักใช้เวลาอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์เป็นเวลานานๆ จึงทำให้เกิดดวงตาอ่อนล้าได้ง่ายเมื่อสะสมมากๆในระยะหนึ่ง ก็ก่อให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหนังตาอ่อนแรง ลักษณะอาการจะมีตาปรือ ตาง่วง
  • การศัลยกรรมตาสองชั้นที่ผิดพลาด เกิดจากความไม่ชำนาญพอของแพทย์ ด้วยเทคนิคการทำ วิธีผูกปม ก่อให้เกิดความผิดพลาดอาจทำให้ปมไหมที่ผูกขัดขวางชั้นกล้ามเนื้อตา ส่งผลให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหนังตาอ่อนแรงได้
  • อุบัติเหตุที่ทำให้กล้ามเนื้อลีเวเตอร์บาดเจ็บหรือฉีกขาด (Levator) คือการที่กล้ามเนื้อตาโดนกระทบกระเทือนโดยตรง ที่ทำให้โครงกระดูกของใบหน้าผิดรูปไปจากเดิม ทำให้ระบบเส้นประสาทเสียการควบคุมกล้ามเนื้อตา จึงอาจเกิดเป็นภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงได้เช่นกัน

นอกจากสาเหตุข้างต้นยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกที่ก่อให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหนังตาอ่อนแรงได้ ซึ่งในบทความนี้จะกล่าวถึงปัจจัยที่ทำให้เกิดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง อาการต่างๆ และวิธีการรักษา 

ปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้เกิดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

  • การลดน้ำหนักเร็วเกินไปกรณีที่คนไข้มีน้ำหนักมากมาก่อน ไม่ว่าจะด้วยวิธีออกกำลังกายอย่าหนัก วิธีการควมคุมอาหาร หรือวิธีการทานยาลดน้ำหนัก  ซึ่งจะทำให้ผิวหนังรอบดวงตาเกิดการหย่อนคล้อย เพราะกล้ามเนื้อตาเสียความยืดหยุ่น
  • ภูมิแพ้ ใส่วนนี้มักจะพบได้บ่อยในผู้ที่มีอาการภูมิแพ้ขึ้นตา เพราะมักมีพฤติกรรมการขยี้ตาบ่อยๆ
  • ผู้ที่มีประวัติเคยเป็นไทรอยด์ มีความเสี่ยงถึงประมาณ 10-15% เนื่องจากไทรอยด์อยู่ในกลุ่มโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง อาการหลักๆของไทรอยด์นั้นคือน้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็วและกล้ามเนื้ออ่อนแรง ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
  • ใส่คอนแทคเลนส์เป็นเวลานาน หากในชีวิตประจำวันใช้คอนแทคเลนส์เป็นประจำในระยะนานๆ สะสมมากๆ ทำให้ตาเกิดความระคายเคืองอยู่เสมอ ส่งผลให้กล้ามเนื้อตายืดขยายจากการขยี้ตาแรงบ่อยๆ กล้ามเนื้อตาอาจบาดเจ็บได้จนกลายเป็นกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

อาการของภาวะกล้ามเนื้อหนังตาอ่อนแรง

จากสาเหตุและปัจจัยหลายอย่างๆ ที่ได้กล่าวข้างต้นมานั้น คนไข้สามารถสังเกตอาการของตนเองว่ากำลังเสี่ยงเป็นภาวะกล้ามเนื้อหนังตาอ่อนแรงหรือไม่ 

  • หนังตาตก เป็นอาการที่สังเกตได้ง่ายที่สุด จะมีลักษณะตาปรือ ตาหย่อนคล้อยเปลือกตาหย่อนลงปิดตามากกว่าปกติ ตาง่วง หรือรู้สึกหนักที่ปลายหนังหางตา

ซึ่งอาการนี้สามารถเป็นภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงได้ตั้งแต่กำเนิดหรือเป็นภายหลังได้

  • เบ้าตาลึก เกิดจากสาเหตุสูญเสียไขมันใต้เปลือกตาไป จะมีลักษณะเบ้าตาลึกกว่าปกติ  มีร่องตา ตาโหล ตาอ่อนล้า ตาง่วง ส่วนมากพบในคนไข้ที่มีอายุมาก
  • การขยี้ตาบ่อยๆ ก็เป็นอีกพฤติกรรมหนึ่งที่ส่งผลให้เกิดชั้นเปลือกตาหย่อนคล้อย สูญเสียความยืดหยุ่น การขยี้ตาที่้เกิดจากการระคายเคืองในตา คันบริเวณรอบๆดวงตาที่มีจากโรคภูมิแพ้ จะมีลักษณะชั้นตาหลายชั้นทับซ้อนกัน ตาปรือ ชั้นตามีริ้วรอยหลายเส้น 
  • ลืมตาไม่ได้เต็มที่  ในอาการนี้เป็นกรณีที่เกิดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเพียงข้างเดียว ลักษณะชั้นตาไม่เท่ากัน ลืมตาไม่ได้ไม่สะดวก ลืมตาได้ไม่เต็มที่กว่าอีกข้างนึงที่ไม่มีปัญหา 
  • ยกคิ้ว เลิกหน้าผาก เกิดจากภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงแล้ว ไม่สามารถลืมตาได้เต็มที่ มีอาการตาปรือมาก คนไข้จึงมีพฤติกรรมยกคิ้วหรือเลิกหน้าผากโดยไม่รู้ตัว เมื่อเรายกคิ้วหรือเลิกหน้าผากเป็นเวลานานๆ ส่งผลให้เกิดการเกร็งกล้ามเนื้อตา ทั้งยังทำให้ปวดหัวอีกด้วย

ระดับความรุนแรงของภาวะกล้ามเนื้อหนังตาอ่อนแรง

หากคนไข้กำลังสับสนว่าตนเองมีภาวะหรือไม่ ในส่วนนี้เราจะกล่าวถึงความรุนแรงของภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงมีทั้งหมดได้ 3 ระดับ และในแต่ละระดับแตกต่างกัน ดังนี้

  • ระดับเริ่มต้น (ระดับที่1) ลักษณะขอบตาบนปิดคลุมทับตาดำลงมาเกินกว่า 2 มิลลิเมตร หากน้อยกว่านี้ไม่ถือว่ามีภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
  • ระดับกลาง (ระดับที่2)  ลักษณะขอบตาบนจะปิดคลุมทับตาดำลงมามากกว่า 3 มิลลิเมตร แต่ไม่เกิน 4 มิลลิเมตร
  • ระดับรุนแรง (ระดับที่3)  ลักษณะขอบตาบนจะปิดคลุมทับตาดำลงมาเกินกว่า 4 มิลลิเมตร
กล้ามเนื่อตาอ่อนแรง อันตรายไหม

วิธีรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

เนื่องจากภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง มีทั้งหลายสาเหตุ ปัจจัย อาการและระดับความรุนแรงแตกต่างกันออกไป การเลือกรักษาแก้ไขปัญหาภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงให้ถูกวิธีนั้นจึงสำคัญเป็นอย่างมาก ในบทความนี้จะบอกรายละเอียดวิธีการรักษาดังนี้

  1. วิธีรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงด้วยการบริหารกล้ามเนื้อตา

ในการรักษาวิธีนี้เหมาะสำหรับคนไข้ที่มีภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงระดับต้น (ระดับที่1)  มีลักษณะขอบตาบนปิดคลุมทับตาดำลงมาเกินกว่า 2 มิลลิเมตร โดยบริการกล้ามเนื้อตา 2 วิธีต่อไปนี้ 

  • กลอกตาขึ้นลงสลับไปมาแล้วเปลี่ยนเป็นกลอกตาจากซ้ายไปขวา ทำซ้ำวันละ 2 รอบ
  • การปรับโฟกัสดวงตา ช่วยลดอาการตาล้า ตาปรือ โดยการนำนิ้วมือหรือปากกายื่นไปข้างหน้าอยู่กึ่งกลาง เพื่อจุดโฟกัสสายตา จากนั้นค่อยๆเลื่อนเข้าหาดวงตาช้าๆ จนเกิดภาพซ้อนแล้วกลับไปเริ่มใหม่ ทำวันละ 3 ครั้ง ครั้งละ  20 รอบ 

การบริหารกล้ามเนื้อตาต้องทำติดต่อกันอย่างต่อเนื่อง เป็นประจำประมาณ 3 อาทิตย์ จะสามารถช่วยบรรเทาระดับความรุนแรงได้ และลดอาการดังกล่าวได้

 2. การรักษาด้วยยา วิธีนี้เหมาะกับคนไข้ที่เป็นโรคกล้ามเนื้อหนังตาอ่อนแรง (Myasthenia Gravis) หรือเรียกสั้นๆ ว่า โรค MG เกิดจากความผิดปกติภูมิคุ้มกันของร่างกายส่งผลให้รอยต่อระหว่างระบบกล้ามเนื้อกับระบบเส้นประสาททับกัน ทำให้กล้ามเนื้อตาไม่สามารถควมคุบการทำงาน ซึ่งจะแตกต่างจากภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

  • ทานยากระตุ้นการทำงานของเส้นประสาท มักนิยมใช้ในการรักษาโรคนี้ เพราะมีความปลอดภัยสูงสุดกว่ายาชนิดอื่นๆ ซึ่งยาตัวนี้จะช่วยให้ระบบประสาทและกล้ามเนื้อตาทำงานปกติ แต่ผลลัพธ์ช่วยได้แค่ชั่วคราว คนไข้จึงต้องทานหลายครั้งต่อวันอย่างต่อเนื่อง พร้อมมีผลข้างเคียงคือ อาการปวดท้อง ท้องเสีย กล้ามเนื้อกระตุกได้
  • ทานยาสเตียรอยด์ เป็นยาที่ช่วยแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงระยะสั้น หรือในกรณีฉุกเฉิน โดยยาสเตียรอยด์จะเข้าไปช่วยกดการทำงานของภูมิคุ้มกันลง ให้กระแสประสาทกับกล้ามเนื้อตาทำงานได้ปกติ

แต่หากทานนานๆ อาจเกิดผลข้างเคียงเช่น น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น สิวขึ้น อารมณ์แปรปรวน ปวดตามตัว  หากคนไข้ทานยานี้ไม่ควรหยุดยาเองเด็ดขาด ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

  • ทานยากดภูมิคุ้มกัน ใช้ในกรณีที่คนไข้มีอาการดื้อยากับยา 2 ชนิดที่กล่าวมาข้างต้น ยากดภูมิคุ้มกันทำงานคล้ายยาสเตียรอยด์ จะเข้าไปกดภูมิคุ้มกัน เพื่อให้กระแสประสาทกับกล้ามเนื้อตาทำงานได้ปกติ แต่มีความรุนแรงกว่าและมีผลข้างเคียงค่อนข้างมาก คือ รู้สึกเหนื่อยล้า ไม่มีแรง เบื่ออาหาร มีฤทธิ์ทำลายตับ และไขกระดูก ดังนั้นหากคนไข้ทานยานี้จึงจะต้องได้รับการตรวจเลือดอย่างต่อเนื่องโดยมีแพทย์ประจำให้คำปรึกษา

 3. การรักษาโดยการผ่าตัด เป็นการรักษาภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงโดยการผ่าตัดจะใช้วิธีเย็บตรึงกล้ามเนื้อตา เป็นการจัดการกับกล้ามเนื้อ “รีเวเตอร์” (Levator) ที่อยู่ลึกเข้าไปในชั้นหนังตา ทีมแพทย์จะทำการเลาะชั้นกล้ามเนื้อตานี้ออกเย็บชั้นตาให้แข็งแรงขึ้นหรือตกแต่งเพิ่มเติม ซึ่งขึ้นอยู่กับปัญหาของคนไข้ที่แตกต่างกันในแต่ละคน

การแก้ไขกล้ามเนื้อหนังตาอ่อนแรง คืออะไร?

การแก้ไขกล้ามเนื้อหนังตาอ่อนแรง เป็นการผ่าตัดแก้ไขกล้ามเนื้อตาที่ชั้นรีเวเตอร์  (Levator Palpebrae Superioris) โดยเลือกผ่าตัดลงลึกไปในชั้นตาถึงชั้นกล้ามเนื้อการลืมตา เพื่อปรับความแข็งแรงของกล้ามเนื้อให้คนไข้สามารถลืมตาได้มากขึ้น ซึ่งแพทย์จะใช้เทคนิคการกรีดแผล ปรับโครงสร้างชั้นตา จากนั้นเย็บแผลให้ชั้นตาได้รูป สร้างชั้นตาสวย แก้ปัญหาตาตก ตาปรือ ปัญหากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง 

 เทคนิคการแก้ไขกล้ามเนื้อหนังตาอ่อนแรง

ปัจจุบันการแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงนั้นมีหลายเทคนิคด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นเทคนิค การเลเซอร์ การเย็บจุด หรือเทคนิคการกรีดแผลเป็นที่นิยมมากที่สุด วันนี้เราจะพามารู้จักกับเทคนิคต่างๆ แบบใดบ้าง?

  1. เทคนิคการใช้เลเซอร์ เป็นนวัตกรรมใหม่ที่มีชื่อว่าเพล็กเซอร์ (Plexr) เลเซอร์สามารถศัลยกรรมตาสองชั้นได้โดยการใช้คลื่นพลาสม่า (Plasma) ยิงไปที่เปลือกตาทำให้เกิดเส้นชั้นตาสองชั้นขึ้นมาอย่างเป็นธรรมชาติ เหมาะสำหรับคนไข้ที่มีหนังตาตกเล็กน้อย หนังตาหย่อนคล้อย รวมไปถึงคนไข้ที่ไม่ต้องการผ่าตัดหรือกังวลเรื่องแผลเป็น 
  2. เทคนิคเย็บ 3 จุด  (Suture Technique) เทคนี้เป็นเพียงการเย็บเปลือกตาโดยเจาะรูที่เปลือกตา 3 จุด เพื่อสร้างชั้นตาขึ้นมาจากการกำหนดจุด 3 ตำแหน่ง ซึ่งจะไม่มีการกรีดแผลใดๆ เทคนิคนี้เป็นที่นิยมที่เหมาะสำหรับคนไข้ที่มีปัญหาตาชั้นเดียว ไขมันหนังตาน้อย หรือคนไข้ที่กลัวการผ่าตัด
  3. เทคนิคกรีดสั้น คือเทคนิคการกรีดแผลที่มีเพียงขนาด 3-5 mm แล้วใช้ไหมเย็บชั้นตา ซึ่งเทคนิคนี้จะไม่มีการตัดหนังออกหรือเอาไขมันส่วนเกินออก ชั้นตา จึงเหมาะกับคนไข้ที่มีตาหมวย ตาเล็ก ชั้นตาหลบใน คนที่มีผิวเปลือกตาน้อย
  4. เทคนิคกรีดยาว เทคนิคนี้แพทย์จะกรีแผลยาวเพื่อเลาะไขมันและหนังตาส่วนเกินออกจากหัวตาไปถึงหางตา จึงจะเกิดรอยชั้นตาขึ้นมาใหม่ เส้นชั้นตาชัดขึ้น ดูเป็นธรรมชาติ แก้ปัญหาตาตกได้ดี เพราะสามารถกำหนดแนวชั้นตาได้ตามที่คนไข้ต้องการ จึงเหมาะสำหรับคนไข้ตาชั้นเดียว เส้นชั้นตาไม่ชัด ตาหลบใน ชั้นตาไม่เท่ากัน คนไข้ที่มีเปลือกตาหนา 
  5. เทคนิค OPEN EYES เทคนิคเฉพาะของ Luxury Clinic เป็นเทคนิคที่ผ่านการคิดข้นจากทีมแพทย์ของทางคลินิก ซึ่งการรักษาภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงด้วยเทคนิค OPEN EYES ที่ Luxury Clinic นั้น คือเทคนิคแบบกรีดยาวโดยเปิดช่วงหัวตาจนถึงหางตาซึ่งเทคนิคนี้จะสามารถเอาไขมันส่วนเกินบริเวณเปลือกตาออกได้ กำหนดความยาวของชั้นตาได้ตั้งแต่หัวตาจนถึงหางตา จะคล้ายกับเทคนิคกรีดยาว แต่เทคนี้ต่างที่สามารถปรับโครงสร้างกล้ามเนื้อตา ปรับกราฟไขมันบริเวณเบ้าตา ปรับความโค้งของชั้นตาได้อย่างธรรมชาติกว่า ทั้งยังใช้การเย็บบล็อกกล้ามเนื้อตา 2 ชั้น จึงทำให้ได้ลายเส้นของชั้นตาที่คงรูปสวย เส้นคมชัด ผลลัพธ์อยู่ได้คงทนถาวร 

ขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนทำศัลยกรรมตา

การเข้ารับผ่าตัดแก้ปัญหาตาสองชั้นถึงจะเป็นการผ่าตัดเล็ก แต่การศัลยกรรมตาสองชั้นนั้น มีรายละเอียดเล็กๆ ที่คนไข้ควรรู้ก่อนเข้ารับการผ่าตัด

  • งดการผ่าตัดในช่วงที่เป็นหวัด ไอ เป็นไข้ หรือป่วย
  • หลีกเลี่ยงการผ่าตัดในช่วงมีประจำเดือน
  • ควรพักผ่อนให้เพียงพอ
  • เตรียมแว่นกันแดดสวมใส่หลังผ่าตัด
  • งดสูบบุหรี่หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อย่างน้อย 2 สัปดาห์
  • งดใส่คอนแทคเลนส์ ฟันปลอม (ถ้าถอดได้) หรือหากมีฟันโยก ฟันครอบ ควรแจ้งแพทย์วิสัญญีหรือพยาบาลรับทราบ และไม่นำของมีค่าติดตัวมา
  • งดการต่อขนตา หรือ ติดสติ๊กเกอร์ตาสองชั้น ก่อนเข้ารับการผ่าตัด
  • งดทำการศัลยกรรมอื่นๆ 
  • แนะนำให้มีญาติมากับผู้ป่วยในวันผ่าตัด ควรมีญาติดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดอย่างใกล้ชิด 24 ชั่วโมงแรกหลังผ่าตัด งดขับขี่ยานพาหนะหรือทำงานกับเครื่องจักรใดๆภายใน 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัด
  • งดรับประทานอาหารเสริมวิตามินทุกชนิดและยาที่มีฤทธิ์ต้านการแข็งของเลือด เช่น แอสไพริน ก่อนเข้ารับการผ่าตัดอย่างน้อย 2 อาทิตย์
  • กรณีมีโรคประจำตัวและยาที่รับประทานเป็นประจำที่ ควรปรึกษาแพทย์ผู้รักษาโรคก่อนรับการผ่าตัด
  • ต้องมาถึงคลินิกก่อนเวลาผ่าตัดจริง 1 ชั่วโมง เพื่อเตรียมเอกสารในการผ่าตัด
  • ทำความสะอาดร่างกายมาก่อนเข้ารับการผ่าตัด เช่น อาบน้ำ สระผม เพราะหลังจากทำไปแล้ว แผลไม่ควรโดนน้ำ

ขั้นตอนการรักษา

  • ก่อนเข้ารับการรักษาแพทย์จะซักประวัติคนไข้ อาการหรือโรคประจำตัว รวมถึงประเมินปัญหาชั้นตาที่ต้องการจะปรับแก้ 
  • คนไข้จะได้รับยาบรรเทาอาหารปวดทานก่อนเข้ารับการผ่าตัด
  • เปลี่ยนชุดพร้อมล้างหน้าด้วยผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อที่พนักงานเตรียมไว้ให้
  • หลังจากเข้าห้องผ่าตัดแล้ว ฉีดยาชาบริเวณเปลือกตา ด้วยเข็มที่เล็กมาก หลังจากนั้นจะรอให้ยาชาออกฤทธิ์เต็มที่ ใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและวิสัญญีแพทย์ตลอดการผ่าตัด  จึงเริ่มทำการผ่าตัด
  • แพทย์จะเริ่มกรีดชั้นตา เพื่อเปิดหนังตาตั้งแต่หัวตาไปจนถึงหางตาตามตำแหน่งที่ต้องการ จากนั้นเอาไขมันส่วนเกิน และผิวหนังเปลือกตาที่หย่อนคล้อยออก
  • ถึงขั้นตอนปรับแต่งกล้ามเนื้อตาโดยใช้การดึงกล้ามเนื้อตาบริเวณ Levator แก้ไขกล้ามเนื้อตาจุดที่อ่อนแรง
  • เย็บยึดชั้นตากับกล้ามเนื้อเปิดปิดเปลือกตา สร้างชั้นตาใหม่
  • เย็บปิดแผลชั้นผิวหนัง จะใช้เวลาในการผ่าตัดไม่เกิน 2 ชั่วโมง
  • นอนพักหลังผ่าตัด 1-2 ชั่วโมง พร้อมประคบเย็น เพื่อลดอาการบวมช้ำ
  • ทีมแพทย์จะประเมินอาการหลังผ่าตัด หากปกติดี ก็สามารถกลับบ้านได้
  • หลังจากนั้นเปลี่ยนชุดให้เรียบร้อย รอรับยาที่หน้าเคาน์เตอร์

การดูแลตัวเองหลังทำ

  • หลีกเลี่ยงการโดนน้ำที่บริเวณแผลผ่าตัด
  • ทานยาตามแพทย์สั่งอย่างต่อเนื่อง
  • ล้างแผลทุกวันจนถึงวันตัดไหม
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิร้อนเกินไป 
  • ในช่วง 3 วันแรก หมั่นประคบอุ่น ช่วยลดการบวมช้ำ 
  • หลีกเลี่ยงการก้มศีรษะ หรือไอจามแรง เพื่อป้องกันเลือดออก
  • งดการนอนตะแคง 2 อาทิตย์ เพื่อลดการบวม
  • หลีกเลี่ยงการจับหรือดึงเปลือกตา
  • หมั่นทาขี้ผึ้งบางๆ บริเวณแผล เพื่อฆ่าเชื้อและช่วยให้แผลสมานเร็วขึ้น
  • หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องใช้สายตามากเพื่อป้องกันอาการตาแห้ง
  • ในช่วงเดือนแรกควรงดอาหารหมักดอง กะปิ ปลาร้า วิตามิน อาหารเสริม แอลกอฮอล์ บุหรี่ เพื่อป้องกันแผลอักเสบ เกิดการระคายเคือง
  • หากมีอาการผิดปกติ เช่น แผลอักเสบบวมแดง มีไข้ ให้รีบติดต่อทางคลินิกทันที
  • นัดตรวจเช็คอาการ ตามวันที่เจ้าหน้าที่พยาบาลแจ้ง

วิธีเลือกคลินิกรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ควรเลือกอย่างไร?

ก่อนจะเลือกตัดสินใจรับการรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง คนไข้ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยเลือกคลินิกที่น่าเชื่อถือ มีเทคนิคและอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ที่ทันสมัย มีใบอนุญาตประกอบกิจการ ที่สำคัญมีจักษุแพทย์ที่มากประสบการณ์ดูแลคนไข้โดยตรง สามารถให้คำปรึกษา ประเมิณปัญหาได้อย่างถูกต้องแล้วนำมาไปวางแผนการผ่าตัดเพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุดแก่คนไข้ นอกจากนี้ต้องคำนึงถึงราคาในการรักษาให้คุ้มกับที่เสียไป

ทำไมต้องทำเลือกรักษา ที่ Luxury Clinic

สิ่งที่ Luxury Clinic ให้ความสำคัญมากการมุ่งมั่นที่จะให้บริการคุณภาพสูงสุดมาโดยตลอด พร้อมทั้งการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ซื้อจากผู้จัดจำหน่ายโดยตรงรวมไปถึงเครื่องมือแพทย์ได้รับการรับรองจาก อย. ทั้งจากไทยและสหรัฐอเมริกา ประการต่อมาคือ มีคุณหมอที่มีความเชี่ยวชาญและหมอของเรานั้นจะผ่านการฝึกอบรมมาอย่างหนัก และมีการไปศึกษาเรียนรู้เทคนิคใหม่ๆ ในต่างประเทศอยู่เรื่อยๆ เพื่ออัพเดตเทรนด์ ยกระดับมาตรฐานการรักษา ทั้งหมดนี้เพื่อให้ลูกค้าที่เข้ามารับบริการกับ Luxury Clinic ได้รับสิ่งที่ดีที่สุดกลับไป ปัจจุบันศูนย์ศัลยกรรมมีห้องผ่าตัดเต็มรูปแบบมาตรฐานเดียวกับโรงพยาบาล อีกทั้งมีบุคลากรคุณภาพที่คัดสรรมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะทาง วิสัญญีแพทย์ พยาบาล รวมไปถึงทีมงานที่ผ่านการฝึกอบรมมาอย่างดี

“เรายังคงมุ่งเน้นการให้บริการคุณภาพสูงสุด อีกทั้งให้คำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญที่ประสบความสำเร็จในการดูแลลูกค้าในแต่ละรอบการรักษาดูแลทำให้ผลลัพธ์ที่ได้มีประสิทธิภาพมากที่สุด”

จุดเด่นของการศัลยกรรมแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ที่ Luxury clinic

  • เป็นศูนย์ศัลยกรรมความงามที่รวบรวมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมโดยเฉพาะ
  • เทคนิคพิเศษศัลยกรรมตาสองชั้นด้วยเทคนิคกรีดยาว Open eyes
  • ใช้เทคนิคแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง หนังตาตก โดยแพทย์เฉพาะทาง
  • บวมช้ำน้อย การเย็บแผลละเอียด ประณีต หมดกังวลเรื่องแผลเป็น
  • ดูแลเคสคนไข้หลังผ่าตัด 
  • มีพนักงานคอยให้คำปรึกษาตลอด

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

 Q : การผ่าตัดภาวะกล้ามหนังตาอ่อนแรงเหมาะกับใคร?

 A : คนไข้ที่มีอาการตาตก ตาปรือ ลืมตาได้ไม่เต็มที่ เบ้าตาลึก ชั้นตาหลบใน ชั้นตาไม่เท่ากันทั้งสองข้าง มีภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง 


 Q : หลังจากผ่าตัดแล้ว มีผลข้างเคียงไหม?

 A : หากแพทย์ไม่มีความเชี่ยวชาญในการผ่าตัดพอ ใช้เทคนิคที่ไม่ดี ก็ส่งผลเสียต่อคนไข้ได้ โดยผลที่ไม่พึงประสงค์นั้น มีดังนี้

  • กล้ามเนื้อตาเปิดไม่เท่ากัน หากแพทย์ไม่ชำนาญการผ่าตัด อาจเกิดผลข้างเคียงคือเปลือกตากล้ามเนื้อยกขึ้นไม่เท่ากัน จึงสังเกตได้ชัดว่าตาไม่เท่ากัน
  • ต้องผ่าตัดแก้ซ้ำหลายครั้ง ในกรณีที่คนไข้ทำศัลยกรรมตาสองชั้นผลลัพธ์หลังทำไม่เป็นที่พึงพอใจสำหรับคนไข้ ทำให้คนไข้ต้องกลับมาแก้ไขอีกครั้ง ซึ่งหากแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในการผ่าตัด มีประสบการณ์มากพอ คนไข้จะได้รับผลลัพธ์ที่ดีตั้งแต่ครั้งแรก
  • ขอบตาดูเป็นคลื่นไม่เรียบไม่สวยงาม ในกรณีนี้จะเกิดขึ้นเมื่อแพทย์ปรับโครงสร้างความแข็งแรงของชั้นกล้ามเนื้อตาไม่สมดุลกัน ผลลัพธ์หลังทำของคนไข้ มีขอบตาไม่เรียบ ไม่ได้รูป ดูไม่เป็นธรรมชาติ

 Q : รอยแผลจะนูนไหม รักษายากไหม?

 A : หลังจากการผ่าตัดแล้วย่อมมีโอกาสเกิดเป็นแผลเป็นแน่นอน แต่หากคนไข้ดูแผลเป็นอย่างดีรอยแผลนูนจะไม่เกิดขึ้น หากคนไข้หมั่นทาผลิตภัณฑ์ลดรอยแผลเป็น ซึ่งในปัจจุบันมีให้เลือกใช้หลากหลาย การทายาลดรอยแผลก็เป็นอีกทางช่วยให้แผลนุ่มและสมานกันเร็วขึ้น รอยจางลงเรื่อยๆ เพียงแต่ต้องใช้เวลาในรักษา 3-6เดือนขึ้นไป จึงจางหายไปอย่างถาวร 


 Q : ตาตกข้างเดียว สามารถทำได้ไหม?

 A : สามารถทำได้ เพราะคนไข้หลายเคสที่มีปัญหากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเพียงข้างเดียว โดยผ่านการวิเคราะห์ปัญหาจากทางแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแล้ว


 Q : แก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ราคา?

 A : ในกรณีที่รักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ราคาเริ่มต้น 39,990.-

REVIEW จากเคสจริง

One thought on “แก้ปัญหากล้ามเนื้อหนังตาอ่อนแรง ด้วยเทคนิค Open eyes โดยศัลยแพทย์ผู้ชำนาญการ

Comments are closed.